การพัฒนาความรู้และทักษะการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ในลักษณะฟอร์ม โดยการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่ (m-Learning)

The development of knowledge and skills to develop web form by m-Learning.
วงษ์ปัญญา นวนแก้ว

บทคัดย่อ: 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และทักษะการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ในลักษณะฟอร์มของนักศึกษา รายวิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (7010206) โดยการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่ (m-Learning) โดยมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากผลการจัดการเรียนรู้และทักษะการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ในลักษณะฟอร์มของนักศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 34 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เนื้อหาบทเรียน จากวิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการเรียนการสอน รายวิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 การทดสอบก่อนเรียนนักศึกษาที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 55.88 และการทดสอบหลังเรียนมีนักศึกษาผ่านเกณฑ์ จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 88.23 และผลความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 โดยการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่ (m-Learning) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.02)

คำสำคัญ: การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ในลักษณะฟอร์ม, สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภท, โทรศัพท์เคลื่อนที่, m-Learning

ABSTRACT: 
The objectives of this research were 1) to develop Knowledge Managements (KM) and skills in the Course of Software Development Process II (7010206) with Application Form Technology (AFT) which performance criteria are 75/75, 2) to compare the learning outcome of students before and after studied, and 3) to study the satisfaction of learner. The population and the sample are the students at the Faculty of Information Technology, Rajabhat Maha Sarakham University with 34 students. The dataset is collected from purposive sampling methods which are consisting of three tools including 1) questionnaires, 2) testing tools, and 3) learning units. The statistics used in this research is the mean and standard deviation.
The study found that 1) the students who passed the pre-test is 19 students with approximately 55.88%, 2) the post-test result show that 30 students with approximately 88.23% whom succeed the test, and 3) the satisfaction results toward the development of Knowledge Managements (KM) and skills in the Course of Software Development Process II (7010206) with Application Form Technology (AFT) is highly with mean as 4.02 of 5.00.

Keyword: Application Form Technology, Mobile-Learning, m-Learning

 Website: http://it.rmu.ac.th/nctim